โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบ้านเชียง
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุยาวนาน
โดยมีหลักฐานการพบในหลุมฝังศพบริเวณพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะเมื่อราว
5,000 กว่าปีมาแล้ว
มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ
ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะที่รู้จักทำการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์
นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก
และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมาแต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่ กันไป
ในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมีการจัดทำในรูปแบบของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงโดยมีการรวมกลุ่มกันในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงก่อตั้งในนาม
กลุ่มหมู่บ้านพิพิธภัณฑ์หมู่ 13 มี
สมาชิกเข้ามาร่วมกลุ่มกันจำนวนประมาณ 60 คน โดยมีนาย
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มหมู่บ้าน และกลุ่มครัวเรือน
กลุ่มหมู่บ้านคือกลุ่มที่ร่วมตัวกันผลิตเครื่องปั้นดินเผาในเชิงอนุรักษ์ศิลปะบ้านเชียง
การจัดทำแหล่งเรียนรู้ การนำเสนอศิลปะพื้นบ้าน การสาธิตวิธีการปั้นและเขียนลาย
ให้กับผู้ต้องการศึกษาร่วมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนกลุ่มครัวเรือน คือกลุ่มที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาในครัวเรือนของตนเอง
เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
โดยมีการรวมกลุ่มเป็นลักษณะของวิสาหกิจชุมชน
โดยสินค้าที่ผลิตจะมีลักษณะเป็นของที่ระลึกที่มีการผลิตกันมาเป็นระยะเวลานานและสืบต่อกันมา
การผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงจะแบ่งหน้าที่การทำโดยมีคนทำหน้าที่ปั้นและคนที่ทำหน้าที่เขียนลาย
ซึ่งส่วนมากคนที่ปั้นมักจะไม่ถนัดที่จะเขียนลาย
และคนเขียนลายก็ไม่ถนัดการปั้นนั้นเอง
การผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงจะผลิตเครื่องดินเผาในรูปแบบที่เป็นของที่ระลึกประเภทแจกัน
และก็จะใช้ลายที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียงเท่านั้น
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงจะเน้นผลิตและขายในบริเวณรอบๆ พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นกับทางพิพิธภัณฑ์พบว่าใน 1 ปี
จะมีผู้เข้าชมประมาณ 250,000 คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ซึ่งผู้เข้าชมส่วนใหญ่มักจะเลือกซื้อของที่ระลึกเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเฉลี่ยคนละประมาณ
100 บาท ทำให้ในหนึ่งปี
มูลค่าการตลาดของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงอยู่ที่ประมาณ 25 ล้านบาท (ที่มา
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง)
จากการลงพื้นที่ของคณะผู้วิจัยพบว่าปัญหาของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงคือการออกแบบและรูปทรงของผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะแบบเดิมๆ
ที่ทำสืบทอดกันมาในหมู่บ้าน โดยผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะก้นกลมเท่านั้น
โดยรูปทรงที่เป็นเอกลักษณะของบ้านเชียงมีจำนวนมากมายตามท้องตลาด ซึ่งความต้องการของสมาชิกในกลุ่มต้องการที่จะมีรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่
แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิมคือลวดลายของบ้านเชียงไว้ และผลิตภัณฑ์ต้องมีความคงทน แข็งแรง
นอกจากนี้ยังพบว่าขาดบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงและตรงกับเอกลักษณ์ของบ้านเชียง
ในส่วนการประชาสัมพันธ์ยังขาดการประชาสัมพันธ์และยังไม่มีเว็บไซต์
สำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า
ทางคณะผู้วิจัยจึงมีแนวทางที่ทำวิจัยในรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวัสดุศาสตร์
การออกแบบ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผากลุ่มบ้านเชียง ให้เป็นสินค้าทีมีคุณภาพประจำท้องถิ่นและยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนตลอดไป
โดยกระบวนการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆคือ
1.การพัฒนาสูตรวัตถุดิบ
กระบวนการขึ้นรูปที่ใช้ในการผลิต ให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรง คงทน และน้ำหนักเบา
2.การพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงใหม่ๆ
มีลักษณะเป็นชุดเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของบ้านเชียงมีความดึงดูดความสนใจแต่ยังคงเอกลักษณ์ลายบ้านเชียงไว้
3.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงาม คงทน
และดึงดูดความสนใจ โดยลักษณะของบรรจุภัณฑ์จะต้องมีเรื่องเล่าที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียงอยู่บนบรรจุภัณฑ์ด้วย
4.การพัฒนาเวปไซต์สำหรับประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์
ที่สามารถสื่อถึงเอกลักษณ์และและเป็นเรื่องเล่าของบ้านเชียงด้วยผสมผสานกับการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบ้านเชียง
5.จัดทำแผนการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการ 4
P